พยางค์ หมายถึงหน่วยหนึ่งขององค์ประกอบในลำดับของเสียงที่ใช้สื่อสารด้วยคำพูด พยางค์โดยทั่วไปเกิดขึ้นจากแกนพยางค์ (syllable nucleus) ซึ่งมักจะเป็นเสียงสระ และอาจมีเสียงขึ้นต้นและเสียงลงท้ายเป็นเสียงพยัญชนะในพยางค์ พยางค์ถูกจัดว่าเป็นส่วนประกอบของคำในการศึกษาระบบเสียงในภาษา (phonology) ซึ่งมีอิทธิพลต่อจังหวะในภาษา ฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รูปแบบการเน้นเสียง เป็นต้น คำหนึ่งคำอาจอบขึ้นจากพยางค์เพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
การเขียนสัญลักษณ์แทนพยางค์เริ่มมีขึ้นเมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก สัญลักษณ์แทนพยางค์ในสมัยนั้นถูกบันทึกลงบนแผ่นจารึกเมื่อประมาณ 2,800 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวสุเมเรียน สิ่งนี้เป็นตัวผลักดันให้อักษรภาพที่เขียนกันมาแต่เดิมถูกเปลี่ยนเป็นการเขียนแทนพยางค์ ซึ่งเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของระบบการเขียน
องค์ประกอบของพยางค์
พยางค์หนึ่งจะประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด ๓ เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มอีก ๑ เสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวสะกด” )
เสียงพยัญชนะต้น คือ เสียงที่เปล่งออกมาก่อน บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำก็ได้ เช่น อ่าง (พยัญชนะต้น คือ อ) ลิฟท์ (พยัญชนะต้น คือ ล) ดาว (พยัญชนะต้น คือ ด) คลอง (พยัญชนะต้น คือ คล) ไกร (พยัญชนะต้น คือ กร) ขวาน (พยัญชนะต้น คือ ขว) เป็นต้น
เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งตามติดมากับเสียงพยัญชนะ เช่น งา (เสียงสระ อา) ชล (เสียงสระ โอะ) เสีย (เสียงสระ เอีย) เกาะ (เสียงสระ เอาะ) เป็นต้น
เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ เพื่อให้มีระดับเสียงสูงต่ำต่างกันไป เช่น ใหญ่ (เสียงวรรณยุกต์ เอก) เพื่อ (เสียงวรรณยุกต์ โท) สี (เสียงวรรณยุกต์จัตวา)
เช่น คำว่า “ ทหาร” (อ่านว่า ทะ- หาน) ประกอบด้วย
- เสียงพยัญชนะต้น คือ ท.- เสียงสระ คือ สระอะ (ทะ) และสระอา (หาน)- เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ (ทะ) และเสียงจัตวา (หาน)- เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ คือ หาน ซึ่งตรงกับมาตราตัวสะกด แม่ กนส่วนประกอบของพยางค์
พยางค์แต่ละพยางค์จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วนขึ้นไป คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ การประกอบสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าเป็นพยางค์เรียกว่า การประสมอักษรมี ๔ วิธี คือ
๑. การประสมสามส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ เช่นกา องค์ประกอบ คือ๑. พยัญชนะ ก๒. สระ อา๓. วรรณยุกต์ เสียงสามัญไม่มีรูป๒. การประสมสี่ส่วน คือ การประสมพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ เช่นเกิด องค์ประกอบ คือ๑. พยัญชนะต้น ก๒. สระ เออ๓. วรรณยุกต์ เสียงเอกไม่มีรูป๔. ตัวสะกด ด๓. การประสมสี่ส่วนพิเศษ คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้าย พยางค์ที่ไม่ออกเสียงหรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่นเล่ห์ องค์ประกอบ คือ๑. พยัญชนะต้น ล๒. สระเอ๓. วรรณยุกต์ เสียงโท๔. ตัวการันต์ ห๔. การประสมห้าส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์
หรือตัวสะกด พยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียง หรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่นสิงห์ องค์ประกอบ คือ๑. พยัญชนะ ส๒. สระ อิ๓. วรรณยุกต์ เสียงจัตวาไม่มีรูป๔. ตัวสะกด ง๕. ตัวการันต์ ห
สรุป โครงสร้างของพยางค์
พยางค์
เสียงพยัญชนะ + เสียงสระ + เสียงวรรณยุกต์
พยางค์ + ความหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น