เสียง

 เสียง 
          
พยัญชนะ เสียงที่เปล่งออกมาโดยผ่านการกล่อมเกลาเสียงจากอวัยวะภายในช่องปาก เรียกว่า เสียงแปร ประกอบด้วย รูปพยัญชนะ 44 รูป และเสียงพยัญชนะ 21 เสียง
จากตาราง ทำให้จัดหมวดหมู่ได้ ดังนี้
            พยัญชนะไทย  พยัญชนะเติม ตัวอักษรบาลี สันสกฤต  อักษรสามหมู่ อักษรต่ำคู่ อักษรต่ำเดี่ยว
                   ก                 ข  (ฃ)            ค (ฅ)            ฆ                 ง
                   จ                 ฉ                 ช (ซ)             ฌ                 ญ
              (ฎ)  ฏ                 ฐ                  ฑ                 ฒ                 ณ
              (ด)  ต                 ถ                 ท                 ธ                   น
              (บ)  ป                 ผ (ฝ)             พ (ฟ)         ภ                 ม                                                                                                                                                                                                                    
                                                                                    ย  ร ล ว
ศ ษ ส  ห                                              ฬ
                   (อ)                                   (ฮ)
          เมื่อเสียงพยัญชนะต้นถูกนำไปใช้ จะใช้ในลักษณะของ เสียงอักษรนำ (ห  อย่า อยู่ อย่าง อยาก)  และเสียงควบ (ควบแท้ ร ล ว กับ ควบไม่แท้ ทร เป็น ซ  หรือ ไม่ออกเสียงตามรูป)
        เสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) เมื่อนำไปใช้ มี 9 มาตรา คือ ก บ ด ม น ง ย ว ก.กา
(แทรก ก บ ด  สะกด และ สั้น ถือเป็น คำตาย  ส่วน  ม น ง ย ว และ ยาว คือ คำเป็น)  เมื่อประกอบกับ ทัณฑฆาต เรียก การันต์ คือ ไม่ออกเสียง เช่น  จันทร์  ทุกข์  สุขสันต์  เป็นต้น
          สระ เสียงที่เปล่งออกมาแล้วไม่ผ่านการกล่อมเกลาจากอวัยวะภายในช่องปาก เรียกว่า เสียงแท้ แบ่งเป็น เสียงสระเดี่ยว (18)
                        อะ อา               อิ อี                   อุ อู                   เอะ เอ 
แอะ แอ          โอะ โอ               เออะ เออ           อัวะ อัว     เอาะ ออ

เสียงสระประสม (3) -  (เอียะ) เอีย            (เอือะ) เอือ         (อัวะ) อัว
ข้อควรจำ อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤา ฦา ไม่ถือเป็นสระ เพราะมี เสียง พยางค์ท้าย คือ ม ย ว และเป็นเสียงซ้ำ คือ รึ (อึ) รือ (อือ) เป็นต้น  สระจึงมี 21 รูป 21 (24) เสียง

            วรรณยุกต์ เสียงที่กำหนดตามระดับของเส้นเสียงเมื่อเปล่งออกมา ใช้กำหนดไตรยางศ์
มี 4 รูป 5 เสียง
ข้อควรจำ         อักษรต่ำ รูปเอก เสียงโท  รูปโท เสียงตรี
อักษรกลาง ผันได้ครบ 5 เสียง

อักษรสูง ผันได้ครบ 5 เสียงเมื่อนำอักษรต่ำคู่มาช่วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น